Stalactite Inspire แรงบันดาลใจจากหินงอก – หินย้อย
Stalactite Inspire คือผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของหินหงอก – หินย้อย มักถูกนำมาต่อยอดเป็นผลงานศิลปะ ที่มีความงดงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่งบ้าน ความงดงามของหินงอก – หินย้อย ก็เช่นกัน แม้จะอยู่ในถ้ำที่ลับตา ก็ยังถูกดึงมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ ในสร้างสรรค์ผลงาน หรือเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างสวยงาม สมบูรณ์แบบ
หินงอก – หินย้อย ได้รับการนับเป็นหนึ่งใน ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นเอง อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในถ้ำหินปูน ซึ่งมีความชื้น แร่ ตะกอน และน้ำเป็นปัจจัยส่งผล แต่งบ้าน ให้เกิดลักษณะพิเศษ ของหินที่ยื่นและหยดเข้าหากัน คล้ายกับเป็นของเหลว หินส่วนที่ยื่นออกมา เรียกว่า หินงอก และหินที่หยดลง เรียกว่า หินย้อยนั่นเอง
ด้วยรูปแบบที่ เป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัวของหินงอก – หินย้อย ทางดีไซน์เนอร์ บ้านเดี่ยว จึงนำความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ นำมาสร้างสรรค์ผลงาน หรือชิ้นงานออกมามากมาย มาดูกันว่าความงดงามของหินงอก – หินย้อย ที่ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างผลงานจะสวยและน่าสนใจมากขนาดไหนกัน ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่ Modern Flintstone ถ้ำ และ การออกแบบตกแต่งภายใน
ผลงานจากแรงบรรดาลใจจาก หินงอก – หินย้อย
Shah Mosque, Isfahan
สถานที่นี้คือ มัสยิดชาห์ (Shah Mosque) หรือรู้จักกันในชื่อ มัสยิดอับบาซีแห่งใหม่ หรืออีกชื่อหนึ่ง มัสยิดหลวง เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมือง House อิสฟาฮาน (Isfahan) ในประเทศอิหร่าน
ได้ถูกก่อสร้างขึ้นในช่วงต้น ของศตวรรษที่ 17 และ ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นหนึ่งในอาคารสถาปัตยกรรม ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ของประเทศอิหร่าน เพราะการตกแต่ง ที่สวยสด งดงาม ด้วยกระเบื้องบุผนังเจ็ดสี ทำให้เกิดลวดลายโมเสค ที่สวยงาม และการประดิษฐ์ตัวอักษร
สถาปัตยกรรม มัสยิดชาห์แห่งนี้ มีความงดงาม ที่น่าตื่นตา ตื่นใจ ซึ่งมาจากพื้นผิว ที่สะท้อนแสง เป็นสีสดใส และโดดเด่น บนพื้นผิวของกระเบื้องที่วาววับ ก็กลายเป็นภาพ ที่สวยสด งดงาม ตัวอาคารใช้รูปแบบ ของรูปทรงเรขาคณิต เป็นองค์ประกอบ ศิลป์สรร จากธรรมชาติ
มีการดีไซน์ พื้นที่ใต้โดม กลายเป็นแบบไล่ระดับ ซ้อนกันหลายชั้น ให้ความรู้สึกเหมือน หินย้อยลงมาจากถ้ำ ดูลึกลับ น่าค้นหา แต่คงไปด้วยความสวยงาม ผสมผสานกับสีสัน ที่สดใสโดดเด่น ของตัวอาคาร ได้อย่างลงตัว ตกแต่งบ้าน
Water Cathedral, Chile
เป็นผลงานต่อมา ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากการ นำแรงบรรดาลใจจากรูปแบบ หินงอก – หินย้อย มาสร้างสรรค์ผลงาน คือ Water Cathedral หรืออีกชื่อ วิหารกลางน้ำ เป็นผลงานของ บริษัทสถาปนิก GUN ช่วยกันการออกแบบงานชิ้นนี้ ยังมีความโดดเด่น จนสามารถคว้ารางวัล MoMA young architects program international ในประเทศชิลีอีกด้วย
จุดประสงค์ที่สร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างเป็นพื้นที่ สาธารณะแบบกลางแจ้ง ในฤดูร้อน ของชิลี โดยทางสถาปนิก ได้ออกแบบโบสถ์ขนาดใหญ่ 700 ตารางเมตร ติดต่อเราได้ที่ Sale Villas Phuket (RU)
ประกอบไปด้วย รูปทรงปริซึม ที่ทำมาจากผ้าสีขาว ที่แขวนห้อย ลงมาจาก โครงเหล็ก และวางคอนกรีต บนพื้นเป็นม้านั่ง ซึ่งเหมือนลักษณะหินงอก – หินย้อยในถ้ำ เรียงกันเป็นกลุ่มก้อน มีความหนาแน่น และความสูง ที่แตกต่างกันไป
ปริซึมผ้าแบบทรงกรวยคว่ำ ถูกแขวนจากตะแกรงลวด เพื่อดักจับน้ำฝน โดยหยดน้ำ จะมีจังหวะ และความเร็ว ที่แตกต่างกัน และหยดน้ำหยดลงมาสร้าง ความสดชื่น เพื่อสร้างบรรยากาศ ที่เย็นสบาย สำหรับผู้มาเยือน สถานที่แห่งนี้ นอกจากนี้เรื่องของเงา ที่เกิดขึ้นยังมีความสวยงาม และแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในทรงปริซึมอีกด้วย
Paper Chandelier, Cristina Parreño Architecture
โคมไฟระย้าที่เต็มพื้นที่ ของเพดานห้องแห่งนี้ เชื่อไหมว่ามันทำมาจากกระดาษที่แสนจะเปราะบาง แต่กลับดูแข็งแกร่ง เมื่ออยู่รวมกัน ผลงานสุดน่าอัศจรรย์ใจ ผลงานนี้เกิดจากฝีมือของ Cristina Parreño Architecture โดยได้รับความร่วมมือ กับทีมงานจาก MIT ( Massachusetts Institute of Technology ) ที่จัดแสดงโชว์ ในงาน ARCOMadrid
ชิ้นงาน “Paper Chandelier” โคมไฟระย้า ถูกออกแบบ เป็นรูปทรงเรขาคณิต และถูกจัดเรียงต่อกัน อย่างพิถีพิถัน โดยถูกแขวน จากโครงสร้างลวดตาข่าย และสายเคเบิล
เพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงาน ที่ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว และได้ระดับความลึก – ความตื้นที่ แตกต่างกัน ชวนให้นึกถึง หินย้อย ที่อ่อนตัวลง นอกจากนี้ ยังเพิ่มแสงไฟ ให้ส่องตามช่อง ระหว่างโคมไฟ มาจากด้านบน เกิดเป็นมิติของแสง และเงาที่น่าหลงใหล จนยากที่จะละสายตา
Muqarna Mutation, Mori Art Museum
ผลงาน Muqarna Mutation ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานกันของสถาปัตยกรรมทางคณิตศาสตร์และศิลปะ เพื่อสร้างโครงสร้างหินย้อยที่ลึกลับและซับซ้อน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบ Muqarna ของสถาปัตยกรรมในศาสนาอิสลาม
Muqarna Mutation คือโคมระย้าที่มีขนาดใหญ่ ได้รับการออกแบบ และผลิตตามอัลกอริทึม ทางคณิตศาสตร์ ด้วยเครื่องจักรทั้งหมด โดยมีจุดประสงค์ เพื่อติดตั้ง ในห้องโถงนิทรรศการ กลางในพิพิธภัณฑ์ Mori Art
โดยผลงานชิ้นนี้ยัง ได้ครับความช่วยเหลือ ทั้งในการคำนวณ และการผลิตจาก Michael hansmeyer (มิเชล แฮนส์เมเยอร์) และทีมวิศวกร ที่เป็นพันธมิตรของเขา ROSO COOP ซึ่งทำให้ได้มีการใช้อัลกอริทึมบางประเภทที่ ช่วยให้สามารถพัฒนา ระบบที่เชื่อมต่อ ผ่านเสาขนาดใหญ่
เป็นศูนย์กลางของห้องโถงนิทรรศการถึงเพดาน ใช้กับท่ออลูมิเนียม อัดขึ้นรูปทั้งหมด 15,000 ท่อและกระเบื้อง 300,000 แผ่น ในสิบหกระดับที่ แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้สร้างการเปลี่ยนจากเสาเป็นเพดาน